ตลอด ระยะเวลา 15 สัปดาห์ที่ผ่านมา

เขียนโดย นาย สมพงษ์ เมืองไธสง วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


ตลอด ระยะเวลา 15 สัปดาที่ผ่านมา



เอ็ม


week 7


ทำงานเหนื่อยมาก - -
โดดเรียนก็บ่อยการบ้านไม่ส่ง
เหนื่อยกับหลายๆ เรื่อง
สัปดาห์นี้อาจารย์สอนดีัมากๆครับ ได้รู้เกี่ยวกับการใช้พาวเวอร์พอยท์เพิ่มเติมจากเดิมมาก
มีคำเค้าว่าไว้"เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างไรก็ไม่เท่าเรียนกับอาจารย์"(หรือผู้รู้ครับ)
ขอบคุณครับอาจารย์

อาร์ท


week11

สัปดาห์นี้ก็คล้ายๆกับสัปดาห์ที่แล้ว แต่สัปดาห์นี้อาจารย์สอนการตัดเกดสนุกมากคับแต่ก็ยัง งง อยู่เหมือนกันเพราะผมไม่ถนันจิงๆกับตัวเลขอย่างงี้ แต่พอลองทำจิงๆก็ผ่านฉลุยเลยมันก็ไม่ยากเท่าที่คิดไว้เลยอาจารย์เอาสอนบ่อยๆนะคับ ผมอย่างเก่งเลข

ท็อป


week 5


สัปดาห์นี้ผมได้ศึกษาเรื่องการทำแผ่นพับกับอาจารย์ว่าการทำ
แผ่นพับที่ถูกวิธีและถูกขั้นตอนนั้นมีวิธีทำอย่างไร ทำให้ผมรู้สึกว่ากำัลังเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และต้องขอขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

โจ้

WeeK12



วันนี้อาจารย์ก็ได้มาสอนกานนำเสนอในโปรแกรมนำเสนอ หรือโปรแกรม Power Point วันี้พวกเราได้รู้จักกับการนำเสนอในรูปแบบใหมาที่ผมไม่เคยได้รับรู้มาก่อนผมสนุกกับการที่ได้เรียนในสัปดาห์นี้มากครับขอบคุณอาจารย์มากครับที่ได้นำความรู้ใหม่ๆมาสอนให้กับพวกเรา

พี่กลั้ง


weel11


การเขียนเรียงความ


             เรียงความ คือการใช้ศิลปะทางการเขียนร้อยแก้วแสดงความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ

และความเข้าใจของผู้เขียนอย่างสละสลวย       เรียงความจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำนำ 

 เนื้อเรื่อง  และสรุป 

เรียงความที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

               มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

               มีสัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้า

จะต้องมีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

               มีสารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด

โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด



ขอเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวค่ะ

                ก่อนเขียนเรียงความนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ชื่อเรื่องที่เขาให้มานั้น หมายถึงอะไร

เกี่ยวโยงกับอะไร ข้อมูลที่จะเขียนลงไปนั้นต้องถูกต้องชัดเจน ดังนั้นผู้เขียนจะต้องรู้ชัดรู้จริง 


การเขียนคำนำ

         เป็นการเกริ่นเรื่อง ขอย้ำว่าแค่เกริ่นนะคะอย่าลึก ใช้คำโอบความหมายกว้างๆ เช่น

เรียงความเรื่องแม่ของฉัน      ควรกล่าวถึงแม่โดยทั่วไปก่อน เขียนให้กินใจ น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ยังไม่ควรเล่าว่า " แม่ของฉัน "เป็นอย่างไร



เนื้อเรื่อง


         เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญตามห้วข้อ ดังนั้นจะต้องเขียนให้ละเอียด

ครอบคลุม ชัดเจน   เช่น เรื่องแม่ของฉัน ในย่อหน้าเนื้อเรื่องให้พรรณนาถึงพระคุณแม่

( เขียนในด้านบวก )



สรุป


         กลับไปอ่านคำนำและเนื้อเรื่องและสรุปจบให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอแนะนำว่า ควรให้

ข้อแนะนำ หรือแนวคิดดีๆ แล้วลงท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจ


          การเขียนเรียงความนั้นอาจจะขึ้นต้นย่อหน้าคำนำ หรือปิดท้ายในหัวข้อสรุป ด้วย กลอน

คติพจน์ วาทะ หรือคำขวัญ     เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้น่าติดตาม ( ถ้ายืมคำใครเขามาอย่าลืมอ้างอิง

นะคะ )     ภายในเรียงความควรประกอบด้วยโวหารหลายๆชนิด เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่าน  ขั้นตอน

ในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้

เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๕ คือ

๑) บรรยายโวหาร

๒) พรรณนาโวหาร

๓) เทศนาโวหาร

๔) สาธกโวหาร

๕) อุปมาโวหาร   

              ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์

การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญ

ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะ

เหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจน


             ๒. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง

 ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึง

ยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ

และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไป

สำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ


                ๓. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

หรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร

จึงยากกว่าโวหารที่กล่าว



               ๔.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง

หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

 พรรณนาโวหาร

              ๕.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า

อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือ

เปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด 

               การเขียนเรียงความที่ดีนั้นควรตีกรอบความคิดของผู้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้

งานเขียนไม่วกวน จนผู้อ่านเกิดความสับสนทางความคิด   และที่สำคัญเรียงความจะต้องใช้ภาษา

อย่างเป็นทางการ  อย่าใช้ภาษาพูดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้งานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ

พี่เนก


week10

หนุมาน
สอนการใช้เอ็กเซลล์วิธีการคำนวน ค่าผ่อนรถ ตัดยอดเท่าไหล่ ต้องส่งเท่าไหล่

เบียร์
ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกันทำงานกลุ่ม แล้วก็ได้สอนให้ทำสไลด์โชว์ในบล็อกซึ่งมันทำคล้ายๆกับการทำวิดีโอซึ่งมันสนุกเอามากเลย


WeeK 9


พี่ใหญ่


Week 8

Week 8       

 สัปดาห์นี้ อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำจดหมายเวียน ทำจดหมายหลายๆฉบับ ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้นต้องคอยลำบากบุคคลอื่นอีก


พี่ พี
ในสัปดาห์นี้ขอเสนอภาพวาดกระท่อมริมบึง


week7


ศิลปะ

พี่สิทธิ

Week 6week 6


  สามารถเรียนรู้สูตรการหาค่าและไ่ดัความรู้ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นและจะนำความต่างๆที่ได้เรียนมา นำมาใช้ในการทำงานให้มากที่สุด

พี่เหน่ง


week5

     ได้เขียนบทความก่อนหน้านี้แล้วและได้ทำการเผยแพร่ไปได้ระยะหนึ่ง เมื่อวันวานได้ทำการแก้ไขหน้าเว็บใหม่เกิดความผิดพลาดข้อความได้หายไปซ่อนส่วนไหนยังไม่ปรากฏ จึงได้ลงมือเขียนใหม่ในเช้าของวันนี้ ขณะเขียนข้อความนี้พระอาทิตย์ส่องแสงสาดเข้ามายังหน้าต่าง ที่เราหันหน้าประจันแต่มีแสลนกั้นแสงประกอบกับกระจกสีชา จึงไม่รู้สึกระคายสายตาได้อีกทั้งความร้อนก็ไม่สามารถส่องผ่านเข้ามาได้

น้องส้ม


Week4

ตอนนี้รู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานมาก นั่งทำงานไปก็จะหลับเหมือนคนไม่ค่อยเต็มร้อยเลย แต่สำหรับเรื่องเรียนนั้นเต็มร้อยเสมอ เพื่ออนาคตที่ดี

พี่อ้อ


Week3

      สิ่งที่ได้จากการเขียนBlog:  ได้รู้จักการเขียนBlog รู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เห็นถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

      ความรู้สึก: รู้สึกสนุกกับการเขียนBlogเพราะจะได้เอาไว้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ  เมื่อเริ่มได้มาเรียนวิชานี้รู้สึกดีใจมากเพราะจะได้รู้จักการใช้เทคโนโลยีที่ไม่รู้จักและอาจารย์ก็ใจดีมีข่าวสารและข้อมูลใหม่ๆมาเล่าให้ฟังเสมอและคอยสอนให้พวกเราเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันว่ามีความจำเป็นต่อการติดต่อในหน้าที่การทำงาน,การเรียน,ในการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก(อาจารย์น่ารักและคอยใส่ใจพวกเราเสมอ)ขอบคุณอาจารย์นะค่ะที่พยายามสอนให้พวกเราเข้าใจกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น